TOP 5 สนามสโมสรฟุตบอลไทย ที่มีความจุผู้ชมมากที่สุด

สนามสโมสรฟุตบอลไทย

สนามสโมสรฟุตบอลไทย หรือ สนามกีฬาเป็น สถานที่ที่เป็นแหล่งรวมแฟนบอลที่จะเข้ามาเชียร์ ทีมรักของตัวเองเพื่อที่จะเป็นแรงกระตุ้นที่ทำให้ นักเตะไทย   ผลงานให้ดี เพื่อทีจะคว้าชัยชนะ หรือทำให้ทีมเล่นดีขึ้น วันนี้เราจะพาคุณผู้ชมมาชมกันว่า สนามฟุตบอลในไทย นั้นมีสนามไหนใหญ่ และ มีความจุที่เพียงพอต่อจำนวนแฟนบอลของแต่ละทีมรวมถึง ที่ไปที่มาของสนามกีฬาเหล่านั้น

1.สนามกีฬาติณสูลานนท์ 45,000 ที่นั่ง สโมสร สงขลา ยูไนเต็ด

หรือ ชื่อเดิมว่า สนามกีฬาเขต 9 ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2538 สนามติณสูลานนท์ ถูกใช้งานครั้งแรก  ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ในปี พ.ศ. 2541คือนัดที่ ทีมชาติไทย พบกับ ทีมชาติจีน ในนัดชิงเหรียญทองแดง ผลปรากฏว่าเป็นทีมชาติจีนเข้าวินได้ด้วยสกอร์ 0-3 โดยนัดนั้นมียอดผู้ชมกว่า 30,000 คนเลยทีเดียว

            ต่อมา การกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ กกท. โอนสนามต่อให้ จ.สงขลา และ ใช้งบปรับปรุงสนามไปกว่าเกือบ 200 ล้านบาท รวมทั้งจังหวัดสงขลา เพิ่มความจุที่นั่งจาก 30,000 คน เป็น 45,000 ที่นั่ง เพื่อใช้ในรายการแข่ง “สงขลาเกมส์”

            สนามกีฬาติณสูนานนท์ ตั้งชื่อมาจาก พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย เพื่อให้เกียรติที่ท่านเป็นคนจังหวัดสงขลา และ ถูกใช้งานกับ สโมสรประจำจังหวัด อย่าง สงขลา ยูไนเต็ด ตั้งแต่ปี พ.ศ.2542-2555 นานถึง 13 ปี แต่สุดท้ายทางสโมสรก็ได้ยุบทีมไปเมื่อปี พ.ศ.2560 เนื่องจากปัญหาทางการเงินของสโมสร โดยได้เข้าสู่ลีกสูงสุดเพียงแค่ปีเดียวเท่านั้น และ ปัจจุบัน จ.สงขลา ก็ได้มีสโมสรอีกครั้งในชื่อ สงขลา เอฟซี และ ต้องเริ่มใหม่จากลีกล่าง ปัจจุบันอยู่ ไทยลีก 3

สนามสโมสรฟุตบอลไทย
สนามสโมสรฟุตบอลไทย

2.สนามช้างอารีนา 32,600 ที่นั่ง สโมสร บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

สนามช้างอารีนา มีชื่อเดิมว่า ไอ-โมบาย สเตเดียม เป็นสนามเหย้าของ สโมสร บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ที่เป็นเจ้าของ 3 แชมป์ล่าสุดที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเป็นสนามที่มีมาตราฐานที่ดีที่สุดเป็นอันดับต้นๆของ อาเซียน เลยทีเดียว โดยมีงบสร้างสนามกว่า 500 ล้านบาท เปิดใช้งานเมื่อวันที่ พ.ศ.2554 โดยมีแม่ทัพหัวเรือใหญ่ ทุ่มทุนสร้าง คือ นาย เนวิน ชิดชอบ เจ้าของทีม บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เรียกได้ว่าเป็นสนามที่ได้รับการรับรองจาก สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ และ สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ลงกินเนสบุ๊คว่า เป็นสนามที่ใช้การก่อสร้างเร็วที่สุดโดยใช้เวลาเพียง 256 วัน หรือเพียงแค่ 7-8 เดือนเท่านั้นเอง

โดยปัจจุบันสนามแห่งนี้ เป็นหนึ่งในแลนด์มาร์กที่หนึ่งในจังหวัด บุรีรัมย์ ที่ใครที่เข้ามาเที่ยวที่ บุรีรัมย์ ต้องเข้ามารับชมสนามนี้ สนามช้างอารีนา ไม่เพียงแต่เป็นสนามฟุตบอลเท่านั้นยังคงจัดเป็น สถานที่จัดงานประชุม จัดคอนเสิร์ต จัดงานประจำปีของจังหวัดบุรีรัมย์ อีกทั้งเคยเป็นสถานที่จัดคิงส์คัพ อีกด้วยๆ

และในรอบๆยังมีสนามแข่งรถ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต เป็นสนามแข่งรถที่ได้มาตราฐานจาก สมาพันธ์รถยนต์นานาชาติแห่งแรกในประเทศไทย

3.สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 28,141 ที่นั่ง สโมสร นครราชสีมา มาสด้า เอฟซี

สนามแห่งนี้ถูกเปิดใช้งานขึ้นในปี พ.ศ.2550 ซึ่งเป็นสถานที่ไว้จัดงานการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2007 ปัจจุบัน เป็นสนามเหย้าของทีมจังหวัดนครราชสีมา คือ สโมสร นครราชสีมา มาสด้า เอฟซี เป็นสนามที่ได้พระราชทานมาจาก พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (ร.9)

ในที่รอบๆนั้นไม่ได้มีแต่เพียงสนามฟุตบอลเพียงอย่างเดียว ยังคงมีสนามกีฬาอื่นๆที่เอาไว้ใช้จัดการแข่งๆขันอื่นๆ เช่น สระว่ายน้ำ ,สนามบาส ,ลู่วิ่ง ,สนามฟุตซอล ,สนามเทนนิส ,สนามวอลเลย์บอลชายหาด เป็นต้น เรียกได้ว่าจัดเป็นสนามกีฬาแห่งชาติที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆของ ประเทศไทย เลยทีเดียว

สนามสโมสรฟุตบอลไทย

4. สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต 25,000 ที่นั่ง สโมสร ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด

ถูกสร้างขึ้นแล้วเปิดใช้งานเมื่อปี พ.ศ.2541 เพื่อใช้จัดการแข่งขัน เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ,เฟสปิก ครั้งที่ 7 และ ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 31 เป็นสนามฟุตบอลขนาดใหญ่ มาพร้อมกับลู่วิ่ง ที่ใช้สำหรับการแข่งขัน กรีฑา ซึ่งปัจจุบันเป็นสนามเหย้าของ สโมสร ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด ทีมจากศึกไทยลีก 1 และ สโมสรฟุตบอลโดม ในศึกไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก เป็นทีมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เพราะสนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต ถูกตั้งอยู่ในเขตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขต รังสิต นั่นเอง

โดยสนามแห่งนี้ถูกใช้งานในนัดสำคัญบ่อยๆ เช่น ฟุตบอลรอบชิงชนะเลิศ รายการ เอฟเอคัฟ หรือ ฟุตบอลลีกคัพ อีกทั้งกีฬาประเภทอื่นๆอย่างรักบี้ ถูกใช้ในรายการ งานรักบี้ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ และ การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 36 “หัวหมากเกมส์” รวมไปถึงรายการ กรีฑาชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย และ กรีฑานานาชาติ Asian Grand Prix Series ก็ถูกจัดขึ้นที่สนามธรรมศาสตร์ รังสิต แห่งนี้นั่นเอง

5. สนามกีฬากลางจังหวัดสุพรรณบุรี 25,000 ที่นั่ง สโมสร สุพรรณบุรี เอฟซี

ได้ทำการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2488 และได้ทำการเปิดใช้งานเมื่อปี พ.ศ.2490 เรียกได้ว่าเป็นสนามฟุตบอลที่เก่าแก่ที่หนึ่งในประเทศไทยเลยทีเดียว โดยใช้ชื่อเดิมคือ สนามกีฬาสงครามโลกครั้งที่ 2 จังหวัดสุพรรณบุรี ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้ชื่อ สนามกีฬากลางจังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันเป็นสนามเหย้าของทีม สุพรรณบุรี เอฟซี ที่อยู่ใน ไทยลีก 2 นั่นเอง

เป็นสนามกีฬาที่รองรับการจัดการแข่งขันมาแล้วหลายครั้งทั้ง การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 , 35 และ 42 ,กีฬาอาเซียน 2009 ,กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 32 รวมไปถึงมี โปรแกรมฟุตบอลทีมชาติไทย ที่ใช้ในการแข่งขันคู่ระหว่าง ฟุตบอลทีมชาติไทย พบกับ ฟุตบอลทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2561 เป็นนัดที่เป็นเกมอำลาทีมชาติของ สินทวีชัย หทัยรัตนกุล ตำนานผู้รักษาประตูทีมชาติไทย ซึ่งตอนนั้นตัวเขาเองก็ค้าแข้ง อยู่กับทีม สุพรรณบุรี เอฟซี ณ ตอนนั้น